วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Ex 5


การเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง

การเคลื่อนที่แนวดิ่ง เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ตกอย่างอิสระภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลกเพียงอย่างเดียว โดยที่ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงมีค่าเป็น 9.8 m/s2 (ในการคำนวณส่วนมากใช้ค่า g = 10  m/s2 ) 
สมการที่ใช้คืออันเดียวกับการเคลื่อนที่ในแนวราบ ( ความเร่งใช้ค่า g แทน ) คือ

วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Ex 3

         

ความเร่ง ( Acceleration )

ความเร่ง หมายถึง อัตรการเปลี่ยนแปลงความเร็ว หรือ ความเร็วที่เปลี่ยนไปในหนึ่งหน่วยเวลา และเนื่องจากความเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์ความเร่งจึงเป็นปริมาณเวกเตอร์ด้วยมีหน่วยเป็น เมตร/วินาที2          ( m/s2 )

Ex 2

     

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปริมาณเวกเตอร์ ( Vector quantity )

ปริมาณเวกเตอร์ คือ ปริมาณที่ต้องบอกทั้งขนาดและทิศทางจึงจะได้ความหมายสมบูรณ์ เช่น การกระจัด ความเร็ว ความเร่ง แรง โมเมนตัม ฯลฯ

ปริมาณสเกลาร์ ( Scalar quantity )

ปริมาณสเกลาร์ คือ ปริมาณที่บอกแต่ขนาดอย่างเดียวก็ความหมายสมบูรณ์ ไม่ต้องบอกทิศทาง เช่น ระยะทาง มวล เวลา ปริมาตร ความหนาแน่น งาน พลังงาน ฯลฯ

ความเร็ว ( Velocity )

ความเร็ว หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงการกระจัด หรือ การกระจัดที่เปลี่ยนไปในหนึ่งหน่วยเวลา เป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที ( m/s )

อัตราเร็ว ( Speed )

อัตราเร็ว หมายถึง ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา เป็นปริมาณสเกลาร์ มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที ( m/s )

วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การกระจัด ( Displacement )

              การกระจัด ( ขจัด ) คือ ปริมาณที่บอกให้ทราบถึงการเปลี่ยนตำแหน่ง
              การกระจัดใช้สัญลักษณ์ "S" เป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเป็นเมตร ( m )

ระยะทาง ( Distance )

            ถ้าเราทราบตำแหน่งเริ่มต้น เส้นทางการเคลื่อนที่ และตำแหน่งสุดท้ายของการเคลื่อนที่ เราก็จะหาระยะทางได้จากความยาวตามเส้นทางการเคลื่อนที่นั้น
            ระยะทางใช้สัญลักษณ์ "S" เป็นปริมาณสเกลาร์ มีขนาดอย่างเดียวไม่ต้องบอกทิศทางมีหน่วยเป็น เมตร ( m )

คำอุปสรรค ( Prefixes )

        เมื่อค่าในหน่วยฐานหรือหน่วยอนุพันธ์น้อยหรือมากเกินไปเราอาจเขียนอยู่ในรูปตัวเลขคูณด้วยตัวพหุคูณได้ เช่น ระยะทาง 0.01 เมตร เขียนเป็น 1*10-2 เมตร ตัวพหุคูณ 10-2 แทนด้วยคำอุปสรรคเซนติ ( c ) ระยะทาง 0.01 เมตร อาจเขียนได้ว่า 1 เซนติเมตร

หน่วยอนุพันธ์ ( Deried Units )

หน่วยอนุพันธ์ เป็นหน่วยซึ่งมีหน่วยฐานหลายหน่วยมาเกี่ยวข้องกัน เช่น หน่วยของความเร็ว เป็๋น เมตร/วินาที ซึ่งเมตรและวินาทีเป็นหน่วยฐาน

หน่วยฐาน ( Base Units )

หน่วยฐาน เป็นหน่วยหลักของเอสไอ มีทั้งหมด 7 หน่วย